วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมาของชาไข่มุก

  


 ชานมไข่มุกมีถิ่นกำเนิดจากประเทศไต้หวัน ชานมไข่มุก หรือที่ไต้หวันเรียกกันว่า  Boba Tea นั้น จริงๆแล้ว  เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญล้วนๆโดยแต่เดิมแล้วคนไต้หวันชอบทานขนมเฟิ่นเหยียนFen Yuan (เหมือนขนมโมจิญี่ปุ่นในปัจจุบัน)มาก ขนมเฟิ่นเหยียนFen Yuan ซึ่งทำมาจากแป้งมันสำปะหลังซึ่งจะคล้ายๆกับตัวไข่มุกแต่จะไม่หนึบเหมือนไข่มุกในปัจจุบัน
       ก่อนปี 1980 ชาวไต้หวันยังไม่กินชาเย็น เพราะคนไต้หวันสมัยเก่าจะกินแต่ชาร้อน แต่มีชาวไต้หวันคนหนึ่งได้ไปเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่นในปีนั้น  และเห็นคนญี่ปุ่นกินกาแฟใส่น้ำแข็ง  จึงเกิดไอเดีย และกลับมาเป็นร้านชาเย็นที่ไต้หวันดูบ้าง สรุปว่าขายดีมากทีเดียว  แต่ชาเย็นไต้หวันในตอนนั้นยังไม่ใส่ไข่มุก

     ชานมไข่มุกจริงๆแล้วนั้นเกิดขึ้นในปี 1988  โดยมีวันหนึ่งในขณะที่ชาวใต้หวันคนนั้นในร้านกำลังประชุมกันอยู่  ในเรื่องของการคิดค้นสูตรชาใหม่ๆ มาขาย  เนื่องจากคนเริ่มเบื่อชาสูตรเก่าๆกันแล้ว  ในตอนนั้นเขากำลังกินขนมหวานที่เรียกว่าเฟิ่นเหยียนFen Yuan อยู่ ด้วยความนึกสนุก เขาก็เลยเทเฟิ่นเหยียนFen Yuan ที่กำลังกินอยู่  ลงไปในชานมเย็นที่วางอยู่ในห้องประชุมแล้วเขาก็ลองชิมแล้วรู้สึกอร่อยดี เลยพรีเซ้นให้ทุกคนลองชิมดูและก็ได้สูตรใหม่ออกมาเป็น"ชานมไข่มุก” 
     ด้วยการทำไปแบบขำๆ แต่ผลที่ได้มันกลับอร่อยซะงั้น  ทุกคนในห้องประชุมชอบชาไข่มุกแก้วนั้น  และเมื่อนำออกมาขาย  ชานมไข่มุก็มียอดขายถล่มทลาย  แซงหน้าทุกเมนูที่เคยมีมาในร้าน  เป็นกระแสไปทั่วไต้หวัน  แล้วก็ข้ามมาถึงในเมืองไทยในช่วงปี 90จนถึงปัจจุบัน

 การดื่มชามีทั้งประโยชน์และโทษ นักวิทยาศาสตร์ชาวสิงค์โปร์ ... - herbrista


ชา ( Tea ) เป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมจากใบยอดอ่อน และก้านของต้นชา นำมาผ่านกรรมวิธีแปรรูปหลากหลาย “ชา” ยังเป็นเครื่องดื่มที่ผู้คนนิยมบริโภคมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากน้ำเปล่า คำว่า “ชา สมุนไพร” นั้นหมายถึงน้ำที่ชงจากสมุนไพร ใบไม้ ดอกไม้ หรือผลไม้ ของพืขอื่นๆ ที่ไม่มีส่วนผสมของต้นชา ส่วนคำว่า “ชาแดง” นั้นหมายถึง น้ำที่ชงจากชาดำ (ใช้เรียกกันในเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลี และ  ญี่ปุ่น เป็นต้น) ในประเทศไทย เครื่องดื่มชาเป็นที่นิยม ได้แก่ ชาไทย ชานม ชามะนาว ชาไข่มุก และชาเขียว
ชาถูกจัดประเภทตามขบวนการแปรรูปหลังจากการเก็บเกี่ยว ใบชาจะถูกทิ้งให้สลด และบ่ม โดยทำให้เอ็มไซม์ใบใบชาเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับออกซิเจนในอากาศ ใบชาจะมีสีเข้มขึ้น คลอโรฟีลในใบชาจะแตกตัว กลายเป็นสารเทนนินที่ให้รสฝาด ต่อจากนั้นต้องหยุดการทำงานของเอ็นไซม์ โดยใช้ความร้อนเพื่อหยุดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น
โดยในชาดำกระบวนการนี้จะดำเนินคู่กันไปกับการทำให้แห้ง หากไม่ระวังในการควบคุมความชื้นและอุณหภูมิระหว่างกระบวนการผลิต ใบชาอาจจะขึ้นรา เกิดปฏิกิริยาสร้างสารพิษที่อาจเป็นสารก่อมะเร็งขึ้นได้ ทำให้รสชาติเสียไป และเป็นอันตรายต่อการบริโภค “ชา” สามารถจัดประเภทตามกระบวนการแปรรูปต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
–ชาขาว เป็นตูมชาและยอดอ่อนชาที่ถูกทิ้งไว้ให้สลด แต่ไม่ได้บ่มเมื่อชงแล้วจะได้เครื่องดื่มที่มีสีเหลืองอ่อน, -ชาเหลือง เป็นใบชาที่ได้ถูกทิ้งไว้ให้สลด และไม่ได้บ่ม แตทิ้งใบชาให้เป็นสีเหลือง,


-ชาเขียว เป็นใบชาที่ไม่ได้ถูกทิ้งไว้ให้สลดและไม่ได้บ่ม เมื่อชงแล้วจะได้ชาที่มีสีเขียวอ่อน,
-ชาแดง เป็นใบของชาเชียวที่ผ่านกระบวนการออกซิเดชั่นหรือการหมัก จนได้ใบชาเป็นสีส้ม เมื่อชงแล้วจะได้เครื่องดื่มที่มีสีน้ำตาลแดง,
-ชาอู่หลง เป็นชาที่ถูกทิ้งไว้ให้สลด มีการนวด และบ่มเล็กน้อย เครื่องดื่มที่ได้จะมีสีเขียวทอง,
-ชาดำ เป็นชาที่ถูกทิ้งไว้ให้สลด (อาจมีการนวดอย่างแรง) และผ่านการบ่มเต็มกระบวนการ เครื่องดื่มที่ได้จะมีสีแดงจนถึงสีดำ,
-ชาหมัก เป็นชาเขียวที่ผ่านกระบวนการหมักนานนับปี


การดื่มชามีทั้งประโยชน์และโทษ นักวิทยาศาสตร์ชาวสิงค์โปร์พบว่า การดื่มชาช่วยให้สมองสดชื่นป้องกันโรคอัลไซเมอร์ นอกจากนั้นชาบางชนิด เช่น ชาใบหม่อน ชาหญ้าหวาน ยังมีประโยชน์ที่จะช่วยต้านอนุมูลอิสระ และลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยยับยั้งโรคมะเร็ง และโรคเบาหวานอีกด้วย ข้อห้อมสำหรับผู้ที่ดื่มชา สตรีมีครรภ์ เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 3 ขวบ หรือสตรีที่กำลังมีประจำเดือน ไม่ควรดื่มชา เนื่องจากชา(โดยเฉพาะชาคุณภาพต่ำ) จะรวมตัวกับสารอาหารต่างๆ ที่มีประโยชน์ เช่น ธาตุเหล็ก ซึ่งจะทำให้ผู้นั้นขาดสารอาหารบางชนิดได้ และไม่ควรดื่มชาใกล้ๆ เวลาอาหาร ควรดื่มชาหลังอาหารไปแล้วอย่างน้อย 2 – 3 ชั่วโมง เนื่องจากจะไปรวมตัวกับสารอาหารสำคัญได้

เทคนิคการชงชา วิธีการชงชาจีน เริ่มจากการอุ่นกาน้ำชา โดยให้น้ำร้อนลวกภาชนะ เพื่อให้กาน้ำชาและถ้วนชาอุ่นขึ้น ซึ่งจะช่วยฆ่าเชื้อโรค และดับกลิ่นภาชนะ ใส่ใบชาลงไปปริมาณที่พอเหมาะไม่เกิน 1 ใน 3 ของถ้วยชา เทน้ำร้อนลงในกาจนเต็ม เพื่อกระตุ้นใบชาให้คลี่ออก และช่วยล้างใบชาให้สะอาด แล้วเทน้ำทิ้ง หลังจากนั้นเทน้ำร้อนเดือดใหม่ๆ ลงไปกาน้ำชาอีกครั้ง ทิ้งไว้ 2 นาที เมื่อต้องการดื่มชาเพิ่ม ให้เติมน้ำเดือดลงไปอีกทิ้งไว้ 2 – 3 นาที ใบชาที่ใช้ชงแต่ละครั้งใช้ได้ประมาณ 3 – 7 ครั้ง

การเก็บรักษาใบชา ใบชาจะต้องเป็นอย่างดี เพื่อจะคงไว้ซึ่งกลิ่น สีและรสชาติ ภาชนะที่ใช้บรรจุใบชาจะต้องแห้ง และปราศจากกลิ่น อากาศเข้าไม่ได้ สิ่งสำคัญที่มีผลกระทบต่อคุณภาพของชา คือ ความชื้น อุณหภูมิ และกลิ่น ภาชนะที่ใช้เก็บควรเป็นภาชนะดินเผาหรือโลหะขนาดพอเหมาะมีฝาปิด 2 ชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้า ไม่ควรให้ใบชาถูกอากาศโดยไม่จำเป็น เพราะอากศมีผลกระทบต่อสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในชา หลีกเลี่ยงความชื้น เพราะความชื้นจะเป็นตัวทำลายคุณภาพของชาในกรณีที่ซื้อชามามาก 
ควรแบ่งชาใส่ในภาชนะที่เล็กพอเหมาะที่จะใช้ในแต่ละสัปดาห์ และเนื่องจากความชื้น มีผลต่อคุณภาพของชา จึงควรเก็บชาไว้ในถุงฟอยล์ มัดให้แน่นก่อนเก็บลงภาชนะ หลีกเลี่ยงไม่ให้ใบชาถูกแสงแดด เพราะแสงแดดจะทำลายคุณภาพของชา และไม่ควรนำภาชนะที่มีกลิ่นมาบรรจุใบชา เพราะใบชามีคุณสมบัติในการดูดกลิ่น

     เรวัติ  น้อยวิจิตร  สุพรรณอินชัวร์ดอทคอม  rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น