วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

Good Guy ชานมอร่อยราคาโดนใจ ยกขบวน สู่ .. ตลาดบ้านแพน






 

             พี่หญิง ปาณิสรา เกตแก้ว เจ้าของธุรกิจชานมไข่มุกไต้หวัน  แบรนด์ Good Guy จับมือ เรวัติ  น้อยวิจิตร ผู้สื่อข่าว นสพ.พลังชน และ บรรณาธิการข่าวออนไลน์ เว็บไซต์ สุพรรณอินชัวร์ดอทคอม เปิดตลาด Good Guy ชานมไข่มุกแท้จากไต้หวัน เพื่อมอบให้เป็นของขวัญแสนอร่อย แก่ชาวตลาดบ้านแพน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา

              

              พี่หญิง   ปาณิสรา เกตแก้ว เจ้าของธุรกิจชานมไข่มุกไต้หวัน  แบรนด์ Good Guy  เปิดใจ กระแสตอบรับ ชานมไข่มุกไต้หวัน.. แบรนด์  Good Guy  แรงมาก  เนื่องจากความสดใหม่ ความสะอาด และ รสชาด ที่โดนใจวันรุ่น นิสิต นักศึกษา และ คนวัยทำงาน  กอร์ปกับ ตลาดบ้านแพน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา  เป็นตลาดเก่า ที่มีมนต์เสน่ห์  ในอดีตเคยเป็นศูนย์กลาง การค้า การคมนาคมขนส่ง และ  เป็น  วิถีชีวิตของผู้คนริมแม่น้ำ ที่มี เรื่องราวอันเป็นตำนาน มากมาย แม้ว่าในแทบทุกปี ชาวตลาดบ้านแพน จะต้องผจญกับอุทกภัย น้ำหลากครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ก็ไม่ได้ทำให้ .. มนต์เสน่ห์ ของเมืองแห่งนี้ เหือดหายไป


                 ในต้นเดือน พฤษภาคม 2556 นี้ ชาวตลาดบ้านแพน จะได้พบกับ นวัตกรรมการชงชาแนวใหม่ ต้นตำรับชานมไข่มุกแท้จากใต้หวัน จาก โรงงานผลิต ที่มีคุณภาพ ในจังหวัดปทุมธานี  แบรนด์ Good Guy  บริเวณ ซุ้มจำหน่ายสินค้าชั่วคราว " กู๊ดกายบ้านแพน "  หน้า ธนาคารออมสิน สาขาตลาดบ้านแพน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา

                

โทรศัพท์    081-9107445     085-2917766 

               http://www.suphaninsure.com/wizContent.asp?wizConID=62842&txtmMenu_ID=7

    น้ำท่วมตลาดบ้านแพน  ความลำบาก หรือความเคยชิน




               สำหรับตลาดบ้านแพนเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วครับแค่น้ำท่วม เพราะมันท่วมเกือบทุกปี กับภูมิลำเนาติดกับแม่น้ำเป็นที่ลุ่มรับน้ำพอดีเลย จะมากจะน้อยก็แล้วแต่ความปราณีของธรรมชาติ สำหรับปีนี้มาไวกว่าปีที่แล้ว1เดือน พี่แกมาแบบว่าท่วมก่อนและท่วมนาน เล่นเอาโรงเรียนปิดกันเป็นเดือนๆ แต่ธุรกิจของบรรดาแม่ค้าในตลาดก็ยังอยู่ได้ พอน้ำมาก็ต้องรู้ว่าทำยังไง เพราะมันเป็นความเคยชินไปแล้ว ของคนตลาดบ้านแพน แต่ไม่ใช่ทำมาหากินไม่ลำบากนะ ลำบากมาก ลำบากแบบรู้ตัว ไม่เหมือนบางพื้นที่ มาแบบไม่ทันตั้งตัว และอีกหลายๆอาชีพก็แย่ไปตามๆกัน และปีนี้อ่วมหนักกว่าทุกๆปีที่ผ่านมา ท่วมก่อน ท่วมหนัก ท่วมนาน ก็สู้ๆครับ


         วิถีชีวิตของชาวบ้านแพน   อำเภอเสนา จังหวัดพระนครสรีอยุธยา

         คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...                    วิถีชีวิตของผู้คนในสมัยนั้นบ้านจะอยู่ตามริม แม่น้ำ ประชาชนบางส่วนอาศัยอยู่บนแพโดยแพทำจากลำไม้ไผ่มามัดรวมกัน แล้วนำไม้กระดานมาปูทับเป็นพื้นบ้านหลังคาทำจาสังกะสีหรือใบจาก ประชาชนบางส่วนอาศัยอยู่บนบก เป็นบ้านไม้สองชั้นเรียงติดกันเป็นแถวอยู่ริมแม่น้ำรียกว่า ตึกแถว หรือในบ้างทีก็ปลูกบ้านแบบยกใต้ถุนสูงหรือทรงไทย ทรงไทยส่วนใหญ่จะมุงด้วยกระเบื้องเกล็ดปลาและอยู่กันอย่างพี่น้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และ อยู่กันอย่างครอบครัวใหญ่ 

                    ตลาดการค้าขายต่างๆนั้นส่วนมากจะอยู่ในน้ำ การค้าขายคึกคัก มีแม่ค้าเป็นจำนวนมากของทีนำมาขายนั้นจะมาจากบ้านของตนเองเช่น พืชผักก็จะปลูกเอง ไม่ได้รับมาขายเหมือนอย่างสมัยนี้ บริเวณประตูน้ำเจ้าเจ็ด ก็จะมีเรือมารอผ่านประตูจำนวนมาก ในลำคลองจึงเต็มไปด้วยเรือของแม่ค้าจากต่างที่ อาหารการกินนั้นก็จะกินแต่ปลาที่หาได้ในแม่น้ำไม่มีน้ำมันพืชหรือน้ำมันปาล์มเหมือนอย่างสมัยนี้ แต่จะใช้ส่วนที่เหลื่อของการทำปลานั้นคือหัวปลาสามารถนำมาเคี่ยวเป็นน้ำมันปลาสามารถนำใช้ในครัวเรือนได้ แต่จะมีข้อเสียคือจะเกิดกลิ่นเหม็นหืน การทำในแต่ละครั้งจึงทำแต่ทีละน้อย


             อาชีพส่วนมากในสมัยนั้นเป็นอาชีพเกษตรกรรม จะทำนากันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อมีการเกี่ยวข้าวก็จะเรียกญาติมาช่วยกันเกี่ยวเรียกว่า ลงแขกแต่ก่อนผู้คนส่วนใหญ่จะค้าขาย ขายผ้า ตัดเสื้อผ้า ปัจจุบันยังมีอยู่เป็นบางร้านริมฝั่งแม่น้ำในอำเภอเสนา สมัยก่อนมีความเป็นอยู่ลำบาก แต่ก่อนก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณนานาชนิด แต่ก่อนนั้นสะอาด ปราศจากเชื้อโรคและสิ่งเจือปน ทำให้ผู้คนสมัยนั้นมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ค่อยมีโรคภัยไข้เจ็บ มีอายุยืนยาว จะแตกต่างกับสมัยนี้ที่มีแต่ยาฆ่าแมลง สารปนเปื้อนหลายๆ ชนิด ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เป็นโรคกันได้ง่าย สุขภาพร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง เจ็บป่วยง่าย สมัยนั้นผู้คนจะเยอะจะมาทำการค้ากันที่อำเภอเสนา ตลาดเสนาก็จะมีแหล่งของขายมากมาย ผู้จนส่วนใหญ่ก็จะมากพบปะพูดคุยกัน รายได้สมัยนั้นจากการขายพออยู่ได้ เป็นการค้าที่สบายๆ คนส่วนใหญ่ก็พอจะค้าขายได้ไม่เหมือนกับสมัยนี้ สมัยนั้นคนส่วนใหญ่ไม่มีไปตามทำงานกับนายจ้าง ส่วนมากจะค้าขาย อาชีพที่ทำนั้นพออยู่ได้

     
                  สมัยนั้นมีเรือรับจ้างมาก จะมีเรือหางยาววิ่งระหว่างตำบลกับอำเภอ แต่ก่อนจะมีท่าเรือเขียว ท่าเรือแดง ท่าเรือขาว ชาวเสนาก็จะไปซื้อของที่กรุงเทพมาขาย ราคาของเรือก็จะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของเรือ เรือใหญ่ราคาจะอยู่ที่ 20 บาท เรือด่วนราคาจะอยู่ที่ 40 บาท จะมีเรือวิ่งทั้งกลางวันและกลางคืน ท่าเรือสายบางซ้าย-สุพรรณ คนจะมาเยอะ และคนก็จะมาลงที่อำเภอเสนา อำเภอเสนาถือเป็นอำเภอที่มีเจริญรุ่งเรืองในอดีตเป็นอำเภอที่รองมาจากอำเภอพระนครศรีอยุธยา ตามท่าเรือก็จะร้านค้ามากไม่ว่าจะเป็นท่ากาแฟ ท่าก๋วยเตี๋ยว


               สมัยนั้นเศรษฐกิจไม่ถึงกับดีแต่พอใช้ได้จะแตกต่างกับสมัยนี้อย่างสิ้นเชิงคนสมัยนั้นใช้จ่ายไม่ฟุ่มเฟือย บางบ้านมีการเก็บหอมรอบริบทำให้มีเงินใช้ คนส่วนจะใช้น้ำจากน้ำประปา น้ำประปาเพิ่งเริ่มจะเข้ามามีเมื่อประมาณ 50 ปีก่อน ผู้คนส่วนใหญ่ในสมัยนั้นมีการเป็นหนี้กันมาก เนื่องจากต้องนำเงินมาลงทุนค้าขาย เงินที่ได้จะกู้มาจากธนาคารเป็นส่วนใหญ่ สมัยนั้นมีการเล่นการพนันน้อย


               สังคมในสมัยนั้นอยู่แบบสบายๆ รวมกุล่มกัน ชาวบ้านมีความช่วยเหลือพึ่งพากันดี รู้จักกันตามแถวๆ หมู่บ้าน สมัยนั้นการจี้ปล้นน้อยเรียกว่าแทบจะไม่มีก็ว่าได้ ส่วนใหญ่จะอยู่กันแบบครอบครัว

เรวัติ  น้อยวิจิตร  หนังสือพิมพ์พลังชน  rewat.noyvijit@hotmail.com   081-9107445

Good Guy ชานมน้องใหม่ โดนใจวัยโจ๋

      
Good Guy : ชานมอร่อยในราคาโดนใจ
           ร้าน Good Guy  เป็นร้านขายชานมไข่มุกและเครื่องดื่มอื่นๆที่กำลังเป็นกระแสบูมในขณะนี้ และร้าน Good Guy  ก็ได้เปิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนที่สนใจทำธุรกิจด้วย
          
           สำหรับเมนูของทางร้าน ดูรวมๆแล้วก็จะเหมือนๆกับร้านเครื่องดื่มประเภทชานม ที่เห็นได้ทั่วๆไปตามห้าง รวมๆแล้วก็ประมาณ 15-20 เมนูเลยทีเดียว แต่ที่โดนใจผมมากที่สุด คือเครื่องดื่มของร้านนี้ ขายถูกมาก จะมีเพียง 2 ราคาเท่านั้นคือ แก้วเล็ก 20 แก้วใหญ่ 25 บาทครับ

สำหรับในวันนี้ผมสั่ง ชานมไข่มุกแก้วใหญ่มาลองชิมครับ รสชาติชานมถือว่าอร่อย ไม่แพงเจ้าดังๆที่ขายตามห้างเลย หวานและเข้มข้นอร่อยดี ส่วนไข่มุกนั้น ร้านนี้จะเป็นไข่มุกลักษณะเหนียวๆ เคี้ยวมันส์(มาก) แบบว่าเคี้ยวจนเมื่อยปากเลยจนกว่าจะกลืนลงคอได้ 555+ 

            สรุปคะแนนตามความคิดเห็นของผม (เต็ม 5 คะแนน)

            รสชาติ : 4 = รสชาติชานมดีแล้วอร่อย ติดอยู่ที่ไข่มุกเพราะเหนียวไปนิสนึง
            บรรยากาศ : 3.5 = ร้านเปิดแบบกันเอง ง่ายๆ สบายๆครับ
            บริการ : 3.5 = บริการได้ตามมาตรฐานครับ
            ราคา : 5 = ถูกครับ ราคาแบบนี้หาในกรุงเทพได้ยาก ยิ่งตามห้างนะไม่ต้องพูดถึงเลย ^^

เรวัติ  น้อยวิจิตร  สุพรรณอินชัวร์ดอทคอม  rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

ประวัติความเป็นมาของชาไข่มุก

  


 ชานมไข่มุกมีถิ่นกำเนิดจากประเทศไต้หวัน ชานมไข่มุก หรือที่ไต้หวันเรียกกันว่า  Boba Tea นั้น จริงๆแล้ว  เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญล้วนๆโดยแต่เดิมแล้วคนไต้หวันชอบทานขนมเฟิ่นเหยียนFen Yuan (เหมือนขนมโมจิญี่ปุ่นในปัจจุบัน)มาก ขนมเฟิ่นเหยียนFen Yuan ซึ่งทำมาจากแป้งมันสำปะหลังซึ่งจะคล้ายๆกับตัวไข่มุกแต่จะไม่หนึบเหมือนไข่มุกในปัจจุบัน
       ก่อนปี 1980 ชาวไต้หวันยังไม่กินชาเย็น เพราะคนไต้หวันสมัยเก่าจะกินแต่ชาร้อน แต่มีชาวไต้หวันคนหนึ่งได้ไปเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่นในปีนั้น  และเห็นคนญี่ปุ่นกินกาแฟใส่น้ำแข็ง  จึงเกิดไอเดีย และกลับมาเป็นร้านชาเย็นที่ไต้หวันดูบ้าง สรุปว่าขายดีมากทีเดียว  แต่ชาเย็นไต้หวันในตอนนั้นยังไม่ใส่ไข่มุก

     ชานมไข่มุกจริงๆแล้วนั้นเกิดขึ้นในปี 1988  โดยมีวันหนึ่งในขณะที่ชาวใต้หวันคนนั้นในร้านกำลังประชุมกันอยู่  ในเรื่องของการคิดค้นสูตรชาใหม่ๆ มาขาย  เนื่องจากคนเริ่มเบื่อชาสูตรเก่าๆกันแล้ว  ในตอนนั้นเขากำลังกินขนมหวานที่เรียกว่าเฟิ่นเหยียนFen Yuan อยู่ ด้วยความนึกสนุก เขาก็เลยเทเฟิ่นเหยียนFen Yuan ที่กำลังกินอยู่  ลงไปในชานมเย็นที่วางอยู่ในห้องประชุมแล้วเขาก็ลองชิมแล้วรู้สึกอร่อยดี เลยพรีเซ้นให้ทุกคนลองชิมดูและก็ได้สูตรใหม่ออกมาเป็น"ชานมไข่มุก” 
     ด้วยการทำไปแบบขำๆ แต่ผลที่ได้มันกลับอร่อยซะงั้น  ทุกคนในห้องประชุมชอบชาไข่มุกแก้วนั้น  และเมื่อนำออกมาขาย  ชานมไข่มุก็มียอดขายถล่มทลาย  แซงหน้าทุกเมนูที่เคยมีมาในร้าน  เป็นกระแสไปทั่วไต้หวัน  แล้วก็ข้ามมาถึงในเมืองไทยในช่วงปี 90จนถึงปัจจุบัน

 การดื่มชามีทั้งประโยชน์และโทษ นักวิทยาศาสตร์ชาวสิงค์โปร์ ... - herbrista


ชา ( Tea ) เป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมจากใบยอดอ่อน และก้านของต้นชา นำมาผ่านกรรมวิธีแปรรูปหลากหลาย “ชา” ยังเป็นเครื่องดื่มที่ผู้คนนิยมบริโภคมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากน้ำเปล่า คำว่า “ชา สมุนไพร” นั้นหมายถึงน้ำที่ชงจากสมุนไพร ใบไม้ ดอกไม้ หรือผลไม้ ของพืขอื่นๆ ที่ไม่มีส่วนผสมของต้นชา ส่วนคำว่า “ชาแดง” นั้นหมายถึง น้ำที่ชงจากชาดำ (ใช้เรียกกันในเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลี และ  ญี่ปุ่น เป็นต้น) ในประเทศไทย เครื่องดื่มชาเป็นที่นิยม ได้แก่ ชาไทย ชานม ชามะนาว ชาไข่มุก และชาเขียว
ชาถูกจัดประเภทตามขบวนการแปรรูปหลังจากการเก็บเกี่ยว ใบชาจะถูกทิ้งให้สลด และบ่ม โดยทำให้เอ็มไซม์ใบใบชาเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับออกซิเจนในอากาศ ใบชาจะมีสีเข้มขึ้น คลอโรฟีลในใบชาจะแตกตัว กลายเป็นสารเทนนินที่ให้รสฝาด ต่อจากนั้นต้องหยุดการทำงานของเอ็นไซม์ โดยใช้ความร้อนเพื่อหยุดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น
โดยในชาดำกระบวนการนี้จะดำเนินคู่กันไปกับการทำให้แห้ง หากไม่ระวังในการควบคุมความชื้นและอุณหภูมิระหว่างกระบวนการผลิต ใบชาอาจจะขึ้นรา เกิดปฏิกิริยาสร้างสารพิษที่อาจเป็นสารก่อมะเร็งขึ้นได้ ทำให้รสชาติเสียไป และเป็นอันตรายต่อการบริโภค “ชา” สามารถจัดประเภทตามกระบวนการแปรรูปต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
–ชาขาว เป็นตูมชาและยอดอ่อนชาที่ถูกทิ้งไว้ให้สลด แต่ไม่ได้บ่มเมื่อชงแล้วจะได้เครื่องดื่มที่มีสีเหลืองอ่อน, -ชาเหลือง เป็นใบชาที่ได้ถูกทิ้งไว้ให้สลด และไม่ได้บ่ม แตทิ้งใบชาให้เป็นสีเหลือง,


-ชาเขียว เป็นใบชาที่ไม่ได้ถูกทิ้งไว้ให้สลดและไม่ได้บ่ม เมื่อชงแล้วจะได้ชาที่มีสีเขียวอ่อน,
-ชาแดง เป็นใบของชาเชียวที่ผ่านกระบวนการออกซิเดชั่นหรือการหมัก จนได้ใบชาเป็นสีส้ม เมื่อชงแล้วจะได้เครื่องดื่มที่มีสีน้ำตาลแดง,
-ชาอู่หลง เป็นชาที่ถูกทิ้งไว้ให้สลด มีการนวด และบ่มเล็กน้อย เครื่องดื่มที่ได้จะมีสีเขียวทอง,
-ชาดำ เป็นชาที่ถูกทิ้งไว้ให้สลด (อาจมีการนวดอย่างแรง) และผ่านการบ่มเต็มกระบวนการ เครื่องดื่มที่ได้จะมีสีแดงจนถึงสีดำ,
-ชาหมัก เป็นชาเขียวที่ผ่านกระบวนการหมักนานนับปี


การดื่มชามีทั้งประโยชน์และโทษ นักวิทยาศาสตร์ชาวสิงค์โปร์พบว่า การดื่มชาช่วยให้สมองสดชื่นป้องกันโรคอัลไซเมอร์ นอกจากนั้นชาบางชนิด เช่น ชาใบหม่อน ชาหญ้าหวาน ยังมีประโยชน์ที่จะช่วยต้านอนุมูลอิสระ และลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยยับยั้งโรคมะเร็ง และโรคเบาหวานอีกด้วย ข้อห้อมสำหรับผู้ที่ดื่มชา สตรีมีครรภ์ เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 3 ขวบ หรือสตรีที่กำลังมีประจำเดือน ไม่ควรดื่มชา เนื่องจากชา(โดยเฉพาะชาคุณภาพต่ำ) จะรวมตัวกับสารอาหารต่างๆ ที่มีประโยชน์ เช่น ธาตุเหล็ก ซึ่งจะทำให้ผู้นั้นขาดสารอาหารบางชนิดได้ และไม่ควรดื่มชาใกล้ๆ เวลาอาหาร ควรดื่มชาหลังอาหารไปแล้วอย่างน้อย 2 – 3 ชั่วโมง เนื่องจากจะไปรวมตัวกับสารอาหารสำคัญได้

เทคนิคการชงชา วิธีการชงชาจีน เริ่มจากการอุ่นกาน้ำชา โดยให้น้ำร้อนลวกภาชนะ เพื่อให้กาน้ำชาและถ้วนชาอุ่นขึ้น ซึ่งจะช่วยฆ่าเชื้อโรค และดับกลิ่นภาชนะ ใส่ใบชาลงไปปริมาณที่พอเหมาะไม่เกิน 1 ใน 3 ของถ้วยชา เทน้ำร้อนลงในกาจนเต็ม เพื่อกระตุ้นใบชาให้คลี่ออก และช่วยล้างใบชาให้สะอาด แล้วเทน้ำทิ้ง หลังจากนั้นเทน้ำร้อนเดือดใหม่ๆ ลงไปกาน้ำชาอีกครั้ง ทิ้งไว้ 2 นาที เมื่อต้องการดื่มชาเพิ่ม ให้เติมน้ำเดือดลงไปอีกทิ้งไว้ 2 – 3 นาที ใบชาที่ใช้ชงแต่ละครั้งใช้ได้ประมาณ 3 – 7 ครั้ง

การเก็บรักษาใบชา ใบชาจะต้องเป็นอย่างดี เพื่อจะคงไว้ซึ่งกลิ่น สีและรสชาติ ภาชนะที่ใช้บรรจุใบชาจะต้องแห้ง และปราศจากกลิ่น อากาศเข้าไม่ได้ สิ่งสำคัญที่มีผลกระทบต่อคุณภาพของชา คือ ความชื้น อุณหภูมิ และกลิ่น ภาชนะที่ใช้เก็บควรเป็นภาชนะดินเผาหรือโลหะขนาดพอเหมาะมีฝาปิด 2 ชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้า ไม่ควรให้ใบชาถูกอากาศโดยไม่จำเป็น เพราะอากศมีผลกระทบต่อสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในชา หลีกเลี่ยงความชื้น เพราะความชื้นจะเป็นตัวทำลายคุณภาพของชาในกรณีที่ซื้อชามามาก 
ควรแบ่งชาใส่ในภาชนะที่เล็กพอเหมาะที่จะใช้ในแต่ละสัปดาห์ และเนื่องจากความชื้น มีผลต่อคุณภาพของชา จึงควรเก็บชาไว้ในถุงฟอยล์ มัดให้แน่นก่อนเก็บลงภาชนะ หลีกเลี่ยงไม่ให้ใบชาถูกแสงแดด เพราะแสงแดดจะทำลายคุณภาพของชา และไม่ควรนำภาชนะที่มีกลิ่นมาบรรจุใบชา เพราะใบชามีคุณสมบัติในการดูดกลิ่น

     เรวัติ  น้อยวิจิตร  สุพรรณอินชัวร์ดอทคอม  rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445